เมนู

พอสรุปได้ว่า ผู้รจนาคัมภีร์นี้ อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย หรือในแคว้น
ปัญจาบของอินเดีย (ปัจจุบัน) และเหตุผลที่จะมาสนับสนุนความเห็นดังกล่าวนี้ให้หนักแน่น
ยิ่งขึ้น ก็คือว่า ในที่อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศลังกา ซึ่งอาจจะพิจารณาว่าเป็นที่อยู่
ของผู้แต่งคัมภีร์นี้ หากท่านไม่ได้อยู่ในที่ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็ได้นั้น ไม่ปรากฏว่ามีอนุสรณ์
อะไรเกี่ยวกับพระเจ้าเมนันเดอร์อยู่เลย(1)
และศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ยังได้กล่าวอีกว่า มิลินทปัญหานี้รจนาขึ้นภายหลัง
คัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมปิฎกที่แต่งโดยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ใน
คราวทำสังคายนาครั้งที่ 3 หลังพุทธปรินิพพานแล้ว 235 ปี เพราะเมื่อเปรียบเทียบคัมภีร์
ทั้งสองนี้ดูแล้ว จะเห็นว่า ข้อคฤหัสถ์ที่บรรลุพระอรหัตแล้วจะบวชด้วยวิธีด้วย(2) และเป็น
ธรรมดาว่า ข้อความในคัมภีร์ที่เก่ากว่านั้น มักจะถูกนำมาอ้างในคัมภีร์ที่แต่งทีหลัง และ
ความมุ่งหมายก็อย่างเดียวกัน คือเพื่อปราบพวกมิจฉาทิฏฐิและป้องกันพระศาสนาจากพวก
พาหิรลัทธิ
พระเจ้ามิลินท์ คือใคร ? ภารัต สิงห์ อุปัธยายะ (Bharat sing Upadhyaya) ได้ให้
คำตอบในปัญหานี้ไว้ว่า พระเจ้ามิลินท์นั้น เป็นองค์เดียวกันพระเจิาเมนันเดอร์ กษัตริย์ชาติ
อินโดกรีก ซึ่งเป็นผู้ทรงอุปถัมถ์และสนับสนุนพระพุทธศาสนาที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ระหว่าง
ศตวรรษที่ 2 คำว่า มิลินท์ มาจากคำภาษากรีกว่า เมนันดรอส (Menandros) นักเขียนใน
สมัยนั้น เรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้หลายอย่างด้วยกัน เช่น ในหนังสือ อวทาน-
กัลปลดา ของท่านเกษมเมนทร (Ksimendra,s Avadanadalpalata) เรียกพระนามของกษัตริย์
พระองค์นี้ว่า มิลินทร์ (Milindra) ซึ่งเป็นนามเดียวกันกับที่พบในหนังสือหมวด ต้นเซอร์
(The Bstan-hygur) แห่งพระไตรปิฎกธิเบต คำจารึกหีบศพภาษาชินกอด (Shinkot) เป็น
ตัวอักษร ขาโรษฐิ (Kharosthi) เรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้ว่า เมนัทระ (Mebadra)
หลักฐานสำคัญที่พอจะประมวลเรื่องราวของกษัตริย์ชาติอินโดกรีกพระองค์นี้ ก็คือมิลินท-
ปัญหานั่นเอง เรื่องราวของนักประวัติศาสตร์กรีก เช่น สตราโบ (Strabo) พลูตาร์ก (Plutarch)

(1) Sacred Book of the East, by F. Max Muller, Vol.xxxv, p. xliv.
(2) เล่มเดียวกับหมายเลข (1) Vol. xxxvi, p.xxv.